ก่อนอื่นทุกคนควรเข้าใจก่อนว่า ผมร่วง (Hair Fall) ผมบาง (Thinning Hair)
ศีรษะล้าน (Baldness) เป็นเพียงอาการ (Symptom) ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นโรคอะไร (Disease) เปรียบเปรยได้กับอาการไข้ (Fever) ไม่ได้บ่งบอกได้เลยว่าเป็นโรคอะไร ถ้าเรารับประทานเพียงยาลดไข้ เราก็จะแค่บรรเทาอาการ แต่ไม่สามารถรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุจริงๆ ได้ บางครั้งอาจอำพรางจนทำให้เราแก้ไขต้นเหตุได้ช้าลง พยาธิสภาพของโรครุนแรงและเป็นมากขึ้น จนเราแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ได้ผล ดังนั้นถ้าใครมีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะเลือกวิธีในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้รักษาได้ผลตามสาเหตุของผมร่วง และปลอดภัย
โดยปกติสาเหตุของผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ มีสาเหตุทั้งจากโรค หรือภาวะทางกาย (Physical Illness) หรือภาวะทางจิตใจ (Mental Health / Disorders) หมอขอแบ่งเป็นสาเหตุหลักให้เข้าใจได้ง่ายนะครับ
สาเหตุของผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน
- สาเหตุที่ทำให้เซลล์รากผม (Hair Stem Cell) ถูกทำลายอย่างถาวร (Permanent Hair Damage) ทั้งที่เป็นแบบรวดเร็ว
เช่น ถูกน้ำร้อนลวก, ไฟไหม้, อุบัติเหตุ หรือแบบค่อยๆ ไปอย่างช้าๆ ซึ่งแบบหลังนี้บางครั้งเราจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำครับ แต่จะเห็นชัดเจน คือ เป็นมากจนศีรษะล้านไปแล้วครับ เช่น ภาวะผมร่วงจากพันธุกรรม และฮอร์โมนเพศ (Androgenetic : MPHL , FPHL) ผลการรักษาของกลุ่มนี้ มักจะได้ผลน้อย หรือไม่ได้ผลเลย บางครั้งต้องใช้การแก้ไขโดยการผ่าตัด เช่น ปลูกผมถาวร (Hair Transplant) การตัดต่อหนังศีรษะ (Scalp Reduction Surgery) เป็นต้น
- สาเหตุที่ทำให้เซลล์รากผม หรือวงจรชีวิตของผม (Life Hair Cycle) ถูกรบกวนชั่วคราว (Temporary Hair Damage)
มีทั้งความเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น ความเครียดรุนแรง (Severe Stress) ความเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) ภาวะหลังคลอดบุตร เป็นต้น ความเจ็บปวดทางกาย เช่น โรคโลหิตจาง โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้ไทรอยด์ ผลข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัด หรือฉายรังสี เป็นต้น สาเหตุแบบนี้ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเราแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด อาการผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านก็จะหายขาด หรือในบางกรณีก็จะสามารถหายได้เอง
ปัจจุบันเคสที่หมอพบได้บ่อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีภาวะผมร่วง ผมบาง
ศีรษะล้านจากฮอร์โมน หรือพันธุกรรมครับ และพบในกลุ่มของผู้ชายมากกว่า ผู้หญิงอีกด้วย การที่มีภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านจากฮอร์โมน หรือพันธุกรรมนั้นถือเป็นสาเหตุที่แก้ไขให้หายขาดได้ยาก และต้องใช้เวลาในการรักษาต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ได้แปลว่ารักษาไม่ได้นะครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการตอบสนองการรักษาของคนไข้แต่ละบุคคลครับ
การแก้ไขหรือรักษาภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านจากฮอร์โมน หรือพันธุกรรม (Androgenetic : MPHL , FPHL)
กลุ่มที่ 1 สำหรับคนที่เซลล์รากผมตายอย่างถาวร คาดหวังให้ผลกลับมาตามเดิม
สำหรับคนที่คาดหวังว่าบริเวณที่ศีรษะล้าน (Baldness Area) คือ บริเวณที่หนังศีรษะเตียนไปแล้วไม่มีผมขึ้นอีก เซลล์รากผมตายอย่างถาวร มีทางเลือกในการแก้ไขตามความเหมาะสม ตามการคาดหวัง และความสะดวกในการดูแลตัวเอง ดังนี้
- การรักษาเพื่ออำพราง (Camouflage Technique)
โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ใช้การต่อผม (Hairpieces) การใส่วิก (Hari Wig) การสักสีแทนเส้นผมเดิม (Micropigmentation / Hair Tattoo) - การผ่าตัด (Surgery)
2.1 การผ่าตัดลดขนาดบริเวณศีรษะล้าน (Baldness Area) ให้เล็กลง หรือตัดออกเลย ขึ้นอยู่กับขนาดบริเวณศีรษะล้าน (Scalp Reduction Surgery)2.2 ศัลยกรรมปลูกผมถาวร Hair Transplantation Surgery หรือ
Hair Restoration Surgery คือ การย้ายเซลล์รากผมจากบริเวณที่แข็งแรง (DonorArea) และมีการเติบโตของเซลล์รากผมที่เป็นอิสระจากฮอร์โมน และพันธุกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผมร่วง เช่น ขมับ และท้ายทอย มาปลูกใหม่ในบริเวณที่ศีรษะล้าน (Baldness Area or Recipient Area)
ปัจจุบันมี 2 เทคนิค คือ
- FUT (Follicular Unit Transplantation) คือ การผ่าตัดที่แพทย์จะเก็บ Donor โดยตัดหนังศีรษะออกมาเป็นแถบ (Strip) แล้วมาหั่นเป็นกอผม (Hair Graft) แต่ละกอผมจะประกอบด้วยเซลล์รากผมที่รวมตัวกันเป็น Follicular Unit แต่ละ Follicular Unit มีหลายขนาดตามจำนวนเส้นผมตั้งแต่ 1, 2, 3 หรือ 4 เส้น เพื่อเลือกใช้ในแต่ละบริเวณที่ศีรษะล้าน โดยทั่วไปเพื่อให้เกิดแนวไรผมที่เป็นธรรมชาติ (Natural Hair Line Design) เรามักจะใช้ Follicular Unit ที่ประกอบด้วยเส้นผม 1-2 เส้น
- FUE (Follicular Unit Extraction) คือ การผ่าตัดที่แพทย์จะเก็บ Donor เซลล์รากผมบริเวณท้ายทอยและขมับเหมือนกับเทคนิค FUT แต่จะเก็บเซลล์รากผมทีละกอโดยไม่ต้องผ่าตัดเอาหนังศีรษะออกมา จึงมีแผลเพียงเล็กน้อยตามขนาดของเครื่องเจาะและโดยปกติเราจะเจาะสลับในอัตรา 2-3 กอผม จึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาเรื่องผมบางในบริเวณที่แพทย์ เจาะเอารากผมออกมา (Donor Area) ปริมาณที่เก็บ Donor ก็จาะขึ้นอยู่กับความกว้างของบริเวณที่ศีรษะล้าน (Baldness Area)
กลุ่มที่ 2 สำหรับคนที่มีภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน คาดหวังให้ผลดีขึ้น รักษาไม่ให้มีบริเวณที่ศีรษะล้านเพิ่มขึ้น
การรักษา หรือแก้ไขภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านสำหรับคนที่มีความคาดหวังให้ภาวะผมร่วง ผมบางดีขึ้น หรือชะลอการทำลายเซลล์รากผมแบบถาวร รักษาไม่ให้มีบริเวณที่ศีรษะล้านมากขึ้น โดยไม่ได้คาดหวังว่าบริเวณที่ล้านไปแล้วจะกลับมา ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธีมาก ได้แก่
การรักษาแบบมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ
- การรับประทานยาที่มีผลต่อต้านฮอร์โมนเพศชาย
โดยที่ยามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงจากฮอร์โมน Testosterone ไปเป็น Dihydrotestosterone (DHT)ซึ่งเป็นตัวการสำคัญร่วมกับ พันธุกรรมที่ทำให้เซลล์รากผมฝ่อและถูกทำลายอย่างถาวร
ตัวยาที่แนะนำให้ทาน
- สำหรับสุภาพบุรุษ มี 2 ตัว คือ ยาฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride)
ขนาด 1 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด และ ยาดูแทสเทอไรด์ (Dutasteride) ขนาด 0.5 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด ประสิทธิภาพของยามีฤทธิ์ได้สูงสุด ถึง 70% แต่การตอบสนองของยาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยปกติผมจะเริ่ม ชะลอการร่วงและแข็งแรงขึ้น วงจรชีวิตของเซลล์รากผมจะกลับมาปกติ หลังรับประทานประมาณ
4 – 6 เดือน แต่ถ้าหากเราหยุดทานยาจะสังเกตว่า ภาวะผมร่วงก็จะกลับมา ภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน - สำหรับสุภาพสตรี ยามีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนที่แนะนำให้ใช้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ยาสไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) ขนาด
25 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด ยานี้มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะด้วย (Diuretics) และมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นได้ จึงต้องมี
ความระมัดระวัง และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทาน โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน เป็นต้น
2. ยาใช้ภายนอกชนิดหยอด ทา หรือสเปรย์
โดยที่ยามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงจากฮอร์โมน Testosterone ไปเป็น Dihydrotestosterone (DHT)ซึ่งเป็นตัวการสำคัญร่วมกับ พันธุกรรมที่ทำให้เซลล์รากผมฝ่อและถูกทำลายอย่างถาวร
กลุ่มที่ 3 ทางเลือกในการรักษาที่น่าสนใจ
การรักษาทางเลือกที่น่าสนใจและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่จะสามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา ดังต่อไปนี้
- ทางเลือกในการรักษา (Alternative Treatment)
สำหรับผู้ที่ปฎิเสธการรักษาด้วยยามาตรฐาน (Standard Treatment) และการผ่าตัดปลูกผมถาวร (Hair Transplantation Surgery) ไม่เหมาะสม หรือมีข้อห้ามในการรักษาดังกล่าว - เป็นการรักษาเสริม (Additive Treatment)
สำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนอง หรือตอบสนองน้อย ด้วยวิธีการรักษาแบบมาตรฐาน เพื่อให้ผลของการรักษาดีขึ้น ตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคล
วิธีที่นิยมในปัจจุบัน คือ การใช้สารกระตุ้น การเติบโตของเซลล์รากผมจากแหล่งต่างๆ
- การสังเคราะห์ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ (Meso Therapy)
- เกร็ดเลือดของตัวเราเองที่อุดมไปด้วย Growth Factor หลายชนิดที่มีประโยชน์
- เซลล์รากผมของตัวเราเองบริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นเซลล์รากผมที่สมบูรณ์ และอิสระ หรือไม่ถูกควบคุมโดยพันธุกรรมและฮอร์โมน
- สเต็มเซลล์ (Stem Cell / Mesenchymal Stem Cells ; MSCs) เป็นต้น