คำตอบ คือ มีทั้งจบเลย และไม่จบครับ แล้วแต่โครงสร้างร่ายกายของแต่ละเคสครับ
กรณีปลูกผมแล้ว “ไม่จบ”
- สำหรับคนที่ทำศัลยกรรมปลูกผมถาวร
แก้ปัญหาผมร่วง ผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนผู้ชาย (MPHL, FPHL) ชนิดที่พยาธิสภาพดำเนินแบบต่อเนื่องแบบ Progressive Type คือ ยังมีภาวะผมร่วงเพราะพันธุกรรม หลังการปลูกผมถาวรอยู่ภาวะดังกล่าวเกิดจากเซลล์รากผมบริเวณเถิก และกระหม่อม นั้นถือเป็นเซลล์รากผมที่การเติบโตถูกควบคุมด้วยยีนส์จากพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากต้นตระกูลของเราเอง และฮอร์โมนผู้ชาย ทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะมีขนาดเล็กลง และเส้นผมที่ผลิตขึ้นมานั้นมีลักษณะบางและสั้น จึงทำให้เกิดอาการผมร่วง ผมบางตามมา จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะศีรษะล้านได้
ในกรณีแบบนี้ตอนที่ทำศัลยกรรมปลูกผมถาวรนั้น บริเวณที่ปลูกเซลล์รากผมยังอยู่ดี แต่หลังปลูกผมถาวร เซลล์รากผมดังกล่าวมีโอกาสที่จะหลุดร่วงอย่างต่อเนื่องได้ เราจะรู้สึกได้ว่าบริเวณที่ไม่ได้ปลูกผมจะบางลง เส้นผมจะมีขนาดเล็กลงตามภาวะเดิมที่เป็นก่อนการทำศัลยกรรมปลูกผมถาวร เนื่องจากสาเหตุหลักนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขนั้นเอง
- สำหรับคนที่มีปัจจัยอื่นๆ มาก่อกวนเซลล์รากผม
อาจจะเกิดก่อนทำศัลยกรรมปลูกผม หรือเกิดภายหลังจากที่เราทำศัลยกรรมปลูกผม ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะทางใจ เช่น ความเศร้ารุนแรงสะสม หรือโรคทางกายหลายอย่าง เช่น โลหิตจาง ไข้หวัดใหญ่ ต่อมไทรอยด์ หรือแม้กระทั่งยารักษาโรคบางชนิด อย่างเช่น ยาลดไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น ซึ่งสาเหตุพวกนี้มีส่วนในการก่อกวนการเติบโตของเซลล์รากผมให้หยุดชะงัก จนเกิดการหลุดร่วงได้ในกรณีนี้แพทย์อาจจะต้องพิจารณาให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องหลังการทำศัลยกรรมปลูกผมถาวรด้วย เช่น
- ยารับประทาน
- ยาหยอด หรือใช้ภายนอก
- และ/หรือ วิธีทางเลือกอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยม เช่น ฉีดสารกระตุ้นเซลล์อย่าง
Autologous Hair Cell Growth Factor (สารกระตุ้นเซลล์ภายนอก) จากเกร็ดเลือด หรือเซลล์จากผมบริเวณท้ายทอยของคนไข้เอง ในบางเคสอาจนำมาจากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ (Mesotherapy) เป็นต้น
ซึ่งเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาแนวทางในการรักษาต่อหลังจากทำศัลยกรรมปลูกผมถาวรแล้ว ว่าเราควรเลือกวิธีการรักษาแบบไหนเพิ่มเติม
กรณีปลูกผมแล้ว “จบ”
- สำหรับคนที่ทำศัลยกรรมปลูกผมถาวร แก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ในบริเวณแคบๆ
บริเวณที่มาจากแผลเป็นขนาดเล็ก หรือการปลูกคิ้ว ในเคสลักษณะนี้จะมี
Survival Rate หรืออัตราการอยู่รอดจากการปลูกผมดีกว่า จึงไม่จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง เพื่อแค่คนไข้มาติดตามอาการให้ครบตามที่แพทย์นัดก็พอครับ - สำหรับคนที่ทำศัลยกรรมปลูกผมถาวร แก้ปัญหาผมร่วง ผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนผู้ชาย (MPHL, FPHL) แบบ Non Progressive Type คือไม่มีภาวะผมร่วงเพราะพันธุกรรม หลังการปลูกผมถาวรอีก
ก่อนอีกมาทำความเข้าใจกันอีกครั้งเรื่อง ผมร่วง ผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนผู้ชาย (MPHL, FPHL) หรือที่เราเรียกว่า ผมบางแบบพันธุกรรม หรือ ผมร่วงที่เกิดจากกรรมพันธุ์ (androgenetic alopecia (AGA) ) ภาวะนี้มักเกิดขึ้นในผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ อาการที่เกิดขึ้นมักไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย แต่อาจจะส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจของผู้ที่มีอาการในกรณีที่ผ่าตัดศัลยกรรมปลูกผมถาวรแล้วจบ ไม่ต้องรักษาต่อเนื่องจะเป็นชนิดที่เซลล์รากผมไม่ถูกทำลายเพิ่ม หรืออยู่ในภาวะดังกล่าวหยุดนิ่งไม่ขยายเป็นวงกว้างเพิ่มขึ้น (Non Progressive Type) ก็คือไม่มีภาวะผมร่วง เพราะพันธุกรรมและฮอร์โมนอีกหลังปลูกผม เคสแบบนี้ทำศัลยกรรมปลูกผมถาวรแล้วจบได้เช่นกันครับ
สรุป
จบหรือไม่จบ เราควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยถึงสาเหตุและตรวจวิเคราะห์ ว่าควรจะดูแลหลังปลูกผมอย่างไรให้เหมาะสมและต่อเนื่อง หรือไม่มีความจำเป็นต้องดูแลหรือรักษาต่อเนื่อง เพียงแค่พบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการหลังทำศัลยกรรมและทบทวนวิธีการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเท่านั้นครับ